องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหัน
นโยบายการบริหารงาน

                 1. นโยบายเร่งด่วน 

                       1.1 ปรับปรุงซ่อมแซม ระบบผลิตและระบบการจ่ายน้ำประปา รวมทั้งการบริหารจัดการกิจการประปาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหัน เพื่อให้ประชาชนได้มีน้ำประปาที่สะอาดเพียงพอต่อการอุปโภคบริโภค

                       1.2 ปรับปรุงซ่อมแซม เหมืองฝาย ที่เป็นทั้งคันคูคันคลอง และเส้นทางขนส่งพืชผลทางการเกษตรของชาวบ้าน ซึ่งได้รับความเสียหายจากฤดูน้ำหลากที่ผ่านมา ให้ใช้การได้โดยเร็วให้ทันต่อฤดู การเก็บเกี่ยว และการผลิตในฤดูกาลหน้า

                   2. นโยบายการพัฒนาทั่วไป

                       2.1  ด้านโครงสร้างพื้นฐาน

                             2.1.1 ก่อสร้าง และซ่อมบำรุงถนนเส้นทางขนส่งพืชผลทางการเกษตรจากไร่นา ตลอดจนถนนในชุมชน เพื่อการสัญจรที่สะดวกให้ครบทุกตรอกซอย

                             2.1.2 จัดให้ท่อทางระบายน้ำ และสาธารณูปโภคอื่นๆ ที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ ให้มีความพร้อม และใช้การได้

                             2.1.3 จัดให้มีและบำรุงรักษาแหล่งน้ำ เพื่อการอุปโภค บริโภคและแหล่งน้ำ เพื่อการเกษตรให้ทั่วถึงและเพียงพอ

                             2.1.4 จัดให้มีระบบแสงสว่างสาธารณะให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ และพัฒนาปรับปรุงสาธารณะประโยชน์อื่นให้มีความพร้อมเพียงพอ กับการให้บริการประชาชน

                             2.1.5 ประสานความร่วมมือ และประสานแผนพัฒนากับองค์กรปกครอง  ส่วนท้องถิ่นอื่น ส่วนราชการ และองค์กรภาครัฐอื่นๆ เพื่อรับการสนับสนุนการจัดบริการสาธารณะแก่ประชาชน      

                       2.2  ด้านเศรษฐกิจ

                             2.2.1 จัดตั้งกองทุน และส่งเสริมการรวมกลุ่มอาชีพ เพื่อเป็นการสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับชุมชน นอกเหนือจากอาชีพ และรายได้หลัก

                             2.2.2 ส่งเสริมพัฒนาระบบการผลิตทางการเกษตร การสร้างเครือข่ายการเรียนรู้การพัฒนาผลผลิตควบคู่กับภูมิปัญญาท้องถิ่น ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

                             2.2.3 ส่งเสริมการผลิต และการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ทดแทนและเป็นลดการใช้ปุ๋ยเคมี เพื่อลดต้นทุนการผลิต และฟื้นฟูสภาพดินลดปัญหาสภาพดินเสื่อมโทรม

                             2.2.4 ส่งเสริมให้เกิดศูนย์กลาง และตลาดการรับซื้อผลผลิตทางการเกษตรประจำตำบล รวมทั้งการส่งเสริมและสร้างเครือข่ายการพึ่งพาช่วยเหลือกันระหว่างเกษตรกรในตำบล

                             2.2.5 ส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นงานฝีมือเชิงช่าง อื่นๆ

                       2.3 ด้านพัฒนาสังคม

                             2.3.1 การศึกษา

                                      2.3.1.1 เสริมสร้างพัฒนาการของเด็กปฐมวัย ประสานสนับสนุนกิจกรรมของโรงเรียนในพื้นที่ทั้งระดับประถม และมัธยม

                                      2.3.1.2 สนับสนุนให้ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ และผู้ดูแลเด็ก ให้ได้รับการฝึกอบรมและศึกษาต่อ เป็นการเพิ่มศักยภาพของบุคลากรในการพัฒนาองค์กร และบริหารประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และคุณภาพ

                                      2.3.1.3 ส่งเสริมศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้เป็นศูนย์กลางการเสริมสร้างพัฒนาการของเด็กปฐมวัยทั้งด้านร่างกาย อารมย์และจิตใจ โดยการกำหนด กำกับ ควบคุม คุณภาพอาหาร     ให้เป็นไปตามหลักโภชนาการรวมถึงการปรับปรุงศูนย์ให้ได้มาตรฐาน และถูกสุขลักษณะ ทั้งสื่อการเรียน      การสอนและอุปกรณ์เครื่องเล่นภาคสนาม

                                      2.3.1.4 สนับสนุนและส่งเสริมโรงเรียนในเขตตำบลในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งกิจกรรมของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน

                                      2.3.1.5 ส่งเสริมให้มีศูนย์การเรียนรู้ชุมชนในระดับตำบลเพื่อเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และบริการข้อมูลข่าวสาร

                   3. ด้านประเพณี  วัฒนธรรม ศาสนาและภูมิปัญญาท้องถิ่น

                       3.1 สนับสนุนงานประเพณีและกิจกรรมวันสำคัญทางศาสนาเพื่อเป็นการสืบสานและอนุรักษ์  เช่น  ประเพณีสงกรานต์  แห่เทียนจำนำพรรษา และลอยกระทง เป็นต้น

                       3.2 จัดและสนับสนุนให้มีการบำรุง รักษาศิลปะ จารีตประเพณีทางความเชื่อ และภูมิปัญญาที่เป็นวัฒนธรรมอันดีของชุมชน

                   4. ด้านสวัสดิการ และการพัฒนาคุณภาพชีวิต

                       4.1 ส่งเสริมงานสวัสดิการชุมชน ประสานสนับสนุนเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ผู้พิการผู้ป่วยเอดส์ และผู้ด้อยโอกาส

                       4.2 ส่งเสริมงานสังคมสงเคราะห์ชุมชน โดยการอบรมให้ความรู้ สร้างงาน สร้างอาชีพ และสร้างโอกาส ให้กับคนยากจน ผู้ด้อยโอกาส ให้มีความมั่นคงและมีโอกาสในสังคมรวมถึงการประสาน   ความร่วมมือกับองค์กรภาครัฐและเอกชนอื่น

                   5. ด้านการสาธารณสุข

                        5.1 สนับสนุนการป้องกันและควบคุมโรคติอต่อ โดยเน้นการประสานความร่วมมือกับองค์กรด้านการสาธารณสุขของรัฐโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และกลุ่มงาน อสม. ในการฝึกอบรม และให้ความรู้กับประชาชน เพื่อให้ประชาชนได้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของโรคภัยต่างๆ และสามารถป้องกันตนเองได้ในเบื้องต้น

                        5.2 ส่งเสริมบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐานชุมชน (อสม.) ให้มีความพร้อมให้มีความและมีศักยภาพ

                        5.3 จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ ตลอดจนเคมีภัณฑ์ เพื่อสนับสนุนงานป้องกันและควบคุมโรคอย่างเพียงพอ

                        5.4 ส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรทางการสาธารณสุขให้ได้รับโอกาสทางความรู้และประสบการณ์ มีความพร้อมมีศักยภาพในการจัดการงานบริการสาธารณสุขมูลฐานชุมชน

                   6. งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

                       6.1 สนับสนุนการฝึกอบรม อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน ( อปพร.) เพื่อพัฒนาศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถ

                       6.2 สนับสนุนจัดหาวัสดุอุปกรณ์ ในการปฏิบัติหน้าที่และสนองนโยบายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยส่วนกลาง โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลต่างๆ

                       6.3 ส่งเสริมสนับสนุนการจัดระบบรักษาความสงบเรียบร้อยภายในตำบล

                   7. การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด

                       7.1 สนับสนุนและร่วมมือกับสถานีตำรวจภูธรบ้านหัน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน และสถาบันครอบครัว เพื่อลดปัญหายาเสพติดและให้โอกาสผู้เคยติดยาได้กลับมาใช้ชีวิตร่วมกับสังคม

                        7.2 สนับสนุนและส่งเสริมการรณรงค์ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของยาเสพติด

                   8. การกีฬา และนันทนาการ

                       8.1 ปรับปรุงและสร้างสนามกีฬาและยกระดับการแข่งขันกีฬาต้านยาเสพติด ให้เป็นกิจกรรมประจำปีมีมาตรฐาน เพื่อสร้างความเป็นเลิศและสร้างนักกีฬาให้กับตำบล

                       8.2 สนับสนุนให้ประชาชน นักเรียน และเยาวชน ได้เข้าร่วมการแข่งขันทั้งในระดับตำบล อำเภอ และจังหวัด เพื่อสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ระหว่างองค์กร และชุมชน

                       8.3 ส่งเสริมให้มีศูนย์กีฬาประจำตำบล เพื่อเป็นศูนย์ฝึกกีฬาชุมชนและเสริมสร้างทักษะความรู้การเล่นกีฬาประเภทต่างๆ

                       8.4 ส่งเสริมให้มีสวนสาธารณะที่ออกกำลังกายกลางแจ้งสนามเด็กเล่นที่พักผ่อน หย่อนใจ และเป็นที่นันทนาการ

                       8.5 ส่งเสริมกิจกรรมของกลุ่มเพื่อสุขภาพต่างๆ ที่มีและดำเนินการอยู่ในชุมชน เช่น     กลุ่มรักษ์สุขภาพ กลุ่มรำวงย้อนยุค ฯลฯ

                   9. ด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ

                       9.1 การอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ

                             9.1.1 ปรับปรุงและพัฒนาที่สาธารณชุมชนให้เป็นป่าชุมชนโดยการปลูกป่า ทั้งในโอกาสวันสำคัญ และจัดเป็นโครงการเฉพาะมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์

                              9.1.2 จัดหาพื้นที่สำหรับเป็นแหล่งน้ำเสียและเป็นบ่อบำบัดชุมชน

                              9.1.3 จัดประชาคมและประชามติอย่างจริงจังสำหรับกิจกรรมหรือโครงการที่อาจ   มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมชุมชนโดยเฉพาะพื้นที่เหนือแหล่งน้ำ

                       9.2  การจัดการขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูลและมลพิษ

                              9.2.1 จัดให้มีการจัดเก็บขยะมูลฝอยอย่างเป็นระบบและครอบคลุมทั่วถึงทุกชุมชน

                              9.2.2 จัดให้มีสถานที่จัดเก็บ บ่อขยะของแต่ละชุมชน  โดยมีรั้วรอบบริเวณบ่อขยะพร้อมทั้งจัดภูมิทัศน์ให้ดูสวยงามเจริญตาด้านหน้าบ่อขยะ

                              9.2.3 ประสานกับองค์กรทุกภาคส่วนเพื่อให้ความรู้กับประชาชนและเด็กนักเรียน เพื่อปลูกฝังนิสัยการคัดแยกขยะ และสร้างจิตสำนึกสิ่งแวดล้อม

                               9.2.4 จัดหาเครื่องมือเครื่องจักรลในการทำงาน จัดการระบบขยะ 

                  10. ด้านการเมืองและการบริหาร

                        10.1  การส่งเสริมการเมือง

                                 10.1.1 ส่งเสริมการเลือกตั้งทุกระดับ โดยการสร้างความรู้ ความเข้าใจในการใช้สิทธิเลือกตั้งและร่วมรณรงค์ให้ประชาชนออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งเป็นการส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตย

                                 10.1.2 จัดให้มีศูนย์ข้อมูลข่าวสาร หอกระจายหรือเสียงตามสายแผ่นป้าย และการประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ประชาชนได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ของทางราชการ

                       10.2  การบริหาร

                                 10.2.1 จัดบริหารองค์กรและจัดบริการสาธารณะตามหลักธรรมาภิบาล โดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยยึดหนลักคุ้มค่า โปร่งใส ตรวจสอบได้

                                 10.2.2 ปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพลดขั้นตอนและระยะเวลาในการให้บริการ นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้อย่างเหมาะสม

                                 10.2.3 ประสานความร่วมมือและสนับสนุนช่วยเหลือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ เพื่อประสิทธิภาพ ในการประสานแผนการจัดทำแผนและการปรับแผนพัฒนาท้องถิ่นสู่การปฏิบัติ

                                 10.2.4 ส่งเสริมและจัดให้มีคณะกรรมการฝ่ายต่างๆ ที่มาจากประชาชน เพื่อมามีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการปฏิบัติ และการตรวจสอบ

                                 10.2.5 ส่งเสริมให้มีการฝึกอบรมประชาชนในพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล บ้านหัน เพื่อให้รับรู้และเข้าใจในขั้นตอนการดำเนินงานขององค์กรและนำไปสู่ความร่วมมือในอนาคต

 

                                                    

           

                                                     บุญมี   บุญจันทึก

                                                  (นายบุญมี   บุญจันทึก)

                                           นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหัน

                                                  วันที่  10  มกราคม  2565